Posted on Leave a comment

การพัฒนาทักษะที่น่าสนใจวัยมัธยม

           วัยมัธยมศึกษาอยู่ในช่วง 13-18 ปี เด็กวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ด้าน การปรับตัวของเด็กวัยนี้จะช่วยให้มีการพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองให้ดีขึ้น ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับทักษะที่น่าสนใจวัยมัธยม ที่แอดมินจะนำเสนอมีทั้งหมด 3 ด้าน เช่น ทักษะพัฒนาการทางร่างกาย ทักษะพัฒนาการทางจิตใจ และ ทักษะพัฒนาการทางสังคม

1. ทักษะพัฒนาการทางร่างกาย

การเติบโตของเด็กมัธยมศึกษาตอนต้น จะเห็นได้ชัดคือ แขนขายาว เท้าใหญ่ น้ำหนักและกล้ามที่เพิ่มขึ้น ช่วงมัธยมต้น อายุ 13-15 ปี เด็กวัยนี้เพศหญิงจะโตกว่าเพศชาย 2ปี มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของเพศหญิงในวัยมัธยมที่ต่างจากวัยประถม เช่น มีหน้าอก รูปร่างมีทรวดทรง มีประจำเดือนครั้งแรก ส่วนเพศชายในช่วงมัธยม บางคนมีเสียงแตก สูงขึ้น นมขึ้นพาน บางคนเริ่มมีหนวดเคราและเริ่มฝันเปียก ซึ่งทักษะพัฒนาการทางร่างกายเหล่านี้ได้ขึ้นอยู่กับเด็กในแต่ละคน บางคนก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง บางคนมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างรวดเร็ว อาจจะช้าบ้างเร็วบ้าง ถึงแม้อายุของเด็กวัยนี้จะเท่ากันก็ตาม เด็กวัยนี้จะเริ่มสนใจรักสวยรักงาม ดูแลตัวเองดีขึ้น มีการแต่งหน้าไปโรงเรียนเพื่อให้เป็นที่ยอมรับ ดูเด่นและดูสดุดตา

ช่วงมัธยมศึกษาตอนปลาย 16-18 ปี การพัฒนาทางด้านร่างกายของเพศหญิง จะหยุดสูงหรือความสูงขึ้นช้า มีสะโพกผายมากขึ้น ในขณะที่เพศชาย สูงไว ความสูงขึ้นเร็วมากต่างจากวัยมัธยมต้น เริ่มโตขึ้นเด็กวัยนี้จะรักสวยรักงาม ส่องกระจกบ่อยขึ้น เพื่อดูควาพึงพอใจของร่างกายและใบหน้าของตนเอง ความเปลี่ยนแปลงร่างกายทั้งเพศชายเพศหญิง คือ มีกลิ่นตัว สิว มีขนและอวัยเพศใหญ่ขึ้น

2. ทักษะพัฒนาการทางจิตใจ

วัยมัธยมศึกษาตอนต้น เด็กวัยนี้จะมีอารมณ์โกรธ รัก กลัว เป็นอารมณ์พื้นฐานของเด็กวัยนี้ การเปลี่ยนทางด้านจิตใจจะเกิดขึ้นเร็ว ตามลักษณะไฮเปอร์ของพวกเขา เช่น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย เคลียดง่าย เด็กวัยนี้ยังควบคุมอารมณ์ของตนเองไม่ได้มาจากระบบประสาททางควบคุมอารมณ์ของพวกเขายังไม่โตเต็มที่ เด็กวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของพ่อแม่ในแต่ละครอบครัว แต่สิ่งสำคัญต่อการพัฒนาของเด็กวัยนี้ให้มีความมั่นคงทางจิตใจ พวกเขาต้องการคำชม การให้กำลังใจมากกว่าความกดดัน

วัยมัธยมศึกษาตอนปลาย เด็กวัยนี้มีความเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจอย่างมากเพราะจะใกล้เข้าสู่วัยเรียนมหาวิทยาลัย พวกเขาต้องโดนกดดันหลาย ๆ ด้าน ทำให้เด็กวัยนี้เครียด วิตกกังวลเกี่ยวกับในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น ต้องเจอการเรียนในเนื้อหาที่ยากขึ้น ต้องแบกความคาดหวังจากผู้ปกครอง เด็กวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของพ่อแม่ในแต่ละครอบครัว แต่สิ่งสำคัญต่อการพัฒนาของเด็กวัยนี้ให้มีความมั่นคงทางจิตใจ พวกเขาต้องการคำชม การให้กำลังใจมากกว่าความกดดัน

3.ทักษะพัฒนาการทางสังคม

วัยมัธยมศึกษาตอนต้น เด็กวัยนี้จะใช้เวลาอยู่กับเพื่อนมากกว่าคนในครอบครัว เพราะความคิดที่ต้องการเป็นจุดสนใจ ต้องการยอมรับจากผู้อื่น เด็กวัยนี้ถ้าได้การยอมรับจากผู้อื่นจะรู้สึกภูมิใจในตนเอง เด็กวัยนี้เริ่มมีความสนใจเพศตรงข้าม สิ่งแวดล้อมในสังคม ไอดอล ดารา นักร้อง ทำให้ความสัมพันธ์การนับถือและให้ความสำคัญกับผู้ใหญ่น้อยลง เด็กวัยนี้มีความคิดของตนเอง มีการต่อต้านคำคิด คำสั่ง เพราะพวกเขาคิดว่าผู้ใหญ่มีความคิดล้าหลัง จะไม่ฟังสิ่งที่ผู้ใหญ่ได้บอกหรือตักเตือน จะใช้ความคิดของตนเองเป็นใหญ่

วัยมัธยมศึกษาตอนปลาย เด็กวัยนี้ทางด้านสังคมจะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมากเพราะจะก้าวเข้าสู่วัยมหาลัย เด็กบางคนต้องไปเรียนพิเศษเพื่อจะติวให้ตัวเองสอบเข้าคณะและมหาวิทยาลัยที่ตนเองตั้งเป้าหมายไว้ การเรียนเนื้อหายากและงานเยอะขึ้น มีการแบกความคาดหวังของครอบครัว บางครอบครัวจะคาดหวังว่าลูกของตนเองจะเรียนอะไร บางครอบครัวบังคับลูกให้เรียนในสิ่งที่ตนเองต้องการโดยไม่ถามความเห็นของลูกตนเอง ในสังคมโรงเรียนเด็กบางกลุ่มอาจจะมีปัญหากับเพื่อน เพื่อนนิสัยได้เปลี่ยนไป มีการทะเลาะนินทาหรือเลิกคบเป็นเพื่อนกัน

ทักษะของเด็กวัยมัธยมศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างนอกจากด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม แล้วยังมีด้านอื่น ๆ อีก ทักษะที่แอดมินได้นำมาเขียนบทความ เพราะทักษะเหล่านี้เป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นสิ่งที่เจอในชีวิตประจำวันแต่ผู้ปกครองบางคนก็ไม่เข้าใจ ในสิ่งที่ลูกของคุณเป็นอย่างไร ร่างกายของเด็กวัยนี้ที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สภาพจิตใจของเด็กวัยนี้เป็นยังไง สังคมที่เด็กวัยนี้ได้เจอมาที่ผู้ปกครองไม่รู้ว่าลูกไปเจออะไรบ้างระหว่างที่ลูกไม่ได้อยู่กับตนเอง บทความที่ได้ลงหวังว่าสามารถช่วยได้มากไม่ก็น้อยนะคะ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านบทความนี้ค่ะ

Editor: Twentyren

อ้างอิงข้อมูล https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/89097/-blog-edu-

https://www.dek-d.com/education/49173/

รูปภาพเพิ่มเติม: https://tuemaster.com/blog/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99/

Leave a Reply